แบบสำรวจความพึงพอใจ

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

โครงการประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ปี ๒๕๕๔




โครงการประกวดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ ปี ๒๕๕๔
ชิงถ้วยประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์พระวรชายา
ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร


      
ประเภทการประกวด
                    ๑) ประเภทสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้
                             - ระดับประถมศึกษา
                             - ระดับมัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา (ปวช.)
                             - ระดับอาชีวศึกษา (ปวส.)/อุดมศึกษา
                             - ระดับประชาชนทั่วไป
๒) ประเภทเครื่องแต่งกายจากวัสดุเหลือใช้
                              มี ๑ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน/นักศึกษา/ประชาชนทั่วไป
๓) ประเภทของใช้ส่วนตัวจากวัสดุเหลือใช้
มี ๑ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน/นักศึกษา/ประชาชนทั่วไป
การพิจารณาตัดสินการประกวด
                  ระดับจังหวัด
                  ตัดสินผลงานในระดับจังหวัดให้เหลือจังหวัดละ ๓ ผลงาน ในแต่ละประเภทและกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้คณะกรรมการระดับภาค พิจารณาคัดเลือกผลงานการประกวดระดับภาค ภาคละ ๓ ผลงาน ตามประเภทและกลุ่มเป้าหมาย โดยไม่เรียงลำดับ ภายในวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๔
                   ระดับกรุงเทพมหานคร
คัดเลือกผลงานระดับกรุงเทพมหานคร ระดับ ๓ ผลงาน ตามประเภทและกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้คณะกรรมการระดับประเทศ พิจารณาตัดสินผลงานการประกวด ภายในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔
                   ระดับภาค
คัดเลือกผลงานการประกวดจากระดับภาค ภาคละ ๓ ผลงาน ตามประเภทและกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้คณะกรรมการระดับประเทศ พิจารณาตัดสินผลงานการประกวด ภายในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔
                  ระดับประเทศ                  
พิจารณาตัดสินผลงานที่ผ่านเข้ารอบมาจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคทั่วประเทศ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ภายในเดือนกันยายน ๒๕๕๔ รางวัลสำหรับทีมที่ชนะการประกวด
    รางวัลการประกวดระดับจังหวัด
    ทีมที่ชนะการประกวดในระดับจังหวัดในแต่ละประเภทและกลุ่มเป้าหมาย จะได้รับรางวัล ดังนี้
            - รางวัลชนะเลิศ                     เกียรติบัตร และทุนการศึกษา ๕,๐๐๐ บาท จำนวน ๑ รางวัล
            - รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง     เกียรติบัตร และทุนการศึกษา ๓,๐๐๐ บาท จำนวน ๑ รางวัล
            - รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง     เกียรติบัตร และทุนการศึกษา ๒,๐๐๐ บาท จำนวน ๑ รางวัล
          รางวัลการประกวดระดับประเทศ
    ทีมที่ชนะการประกวดในระดับประเทศในแต่ละประเภทและกลุ่มเป้าหมาย จะได้รับรางวัล ดังนี้
          - รางวัลชนะเลิศ         ถ้วยประทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษา ๕๐,๐๐๐ บาทจำนวน ๑ รางวัล
         - รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง     โล่รางวัล เกียรติบัตร และทุนการศึกษา ๓๐,๐๐๐ บาท จำนวน  ๑ รางวัล
          - รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง    โล่รางวัล เกียรติบัตร และทุนการศึกษา ๒๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๑ รางวัล
          - รางวัลชมเชย                      โล่รางวัล เกียรติบัตร และทุนการศึกษา ๑๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๓ รางวัล
หลักเกณฑ์การประกวด
แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
                  ๑) ประเภทสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้
สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ หมายถึง สิ่งของ เครื่องใช้ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว หรือหมดอายุการใช้งาน หรือ วัสดุอุปกรณ์ที่เหลือจากความต้องการ และไม่เป็นที่ต้องการจะใช้อีกต่อไป อาทิเช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กระป๋องอลูมิเนียม กระดาษประเภทต่าง ๆ เศษยาง เศษไม้ ซากบรรจุภัณฑ์ หรือเศษวัสดุธรรมชาติที่ไม่ใช้แล้ว ต้องไม่เป็นวัสดุที่เป็นอันตราย และสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ที่ประดิษฐ์ขึ้นมานั้น จะต้องสามารถนำไปใช้งานในชีวิตประจำวันได้จริง
๑) ผู้ที่ส่งผลงานเข้าประกวดในแต่ละกลุ่มเป้าหมายจะต้องส่งเป็นทีม ทีมละไม่เกิน ๔ คน โดยสถาบันการศึกษาส่งได้ไม่เกินสถาบันละ ๒ ทีม และประชาชนทั่วไป ไม่เกิน ๒ ทีม ต่อ ๑ ประเภท ตามกลุ่มเป้าหมายของการประกวดฯ
๒) ส่งผลงานประกวดได้ทีมละ ๑ ผลงานเท่านั้น โดยผลงานต้องมีขนาดเท่าของจริง หรือ ตามความเหมาะสม
๓) ต้องเป็นผลงานที่ทีมประกวดคิดขึ้นมาใหม่ ไม่ลอกเลียนหรือละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น และไม่เคยได้รับรางวัลจากที่ใดมาก่อน
๔) สิ่งประดิษฐ์ที่ส่งเข้าประกวดจะเน้นการนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ซ้ำใน
                   ๒) ประเภทเครื่องแต่งกายจากวัสดุเหลือใช้
 หมายถึง สิ่งของ หรือเครื่องใช้ที่ผ่านการใช้งานแล้ว หรือหมดอายุการใช้งาน หรือวัสดุอุปกรณ์ที่เหลือจากความต้องการ และไม่เป็นที่ต้องการจะใช้อีกต่อไป เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กระป๋องอลูมิเนียม กระดาษประเภทต่างๆ เศษยาง เศษไม้ ซากบรรจุภัณฑ์ หรือเศษวัสดุธรรมชาติที่ไม่ใช้แล้ว อันประกอบด้วย เสื้อ กางเกง กระโปรง อาจมีหรือไม่มีเครื่องประกอบชุดแต่งกายก็ได้ เช่น หมวก เข็มกลัด เนคไท เข็มขัด ผ้าพันคอ รองเท้า เครื่องประดับผม ต่างหู กำไล ฯลฯ ที่ทำมาจากวัสดุเหลือใช้ที่ไม่ใช่วัสดุอันตราย และชุดเครื่องแต่งกายที่ประดิษฐ์ขึ้นมานั้นจะต้องสามารถนำมาสวมใส่ได้จริง
                   ๓) ประเภทของใช้ส่วนตัวจากวัสดุเหลือใช้ (personal accessories)
หมายถึง เสื้อผ้า เครื่องประดับแตกแต่งร่างกาย อันได้แก่ หมวก เครื่องประดับผม ผ้าพันคอ สายสร้อย ต่างหู นาฬิกาข้อมือ แหวน กำไล กระเป๋าถือ/สะพาย รองเท้า ฯลฯ ทั่งนี้ควรเน้นเซ็ทที่เข้าชุดกัน และต้องสะท้อนให้เห็นถึงการออกแบบดีไซน์ที่เข้าชุดกัน วัสดุที่นำมาประดิษฐ์ไม่จำกัดว่าเป็นของเพศชายหรือเพศหญิง แต่จะต้องเน้นวัสดุที่เป็นการนำของเหลือใช้ภายในบ้าน วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร หรือวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์และจะต้องสามารถนำมาสวมใส่ได้จริง
                       กำหนดส่งใบสมัครพร้อมผลงาน โดยผลงานที่ส่งจะต้องระบุชื่อผลงาน รายชื่อสมาชิกในทีม สถาบัน/หน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์ แนวคิด ขั้นตอนในการประดิษฐ์ วัสดุที่ใช้ แหล่งที่มาของวัสดุ และรูปภาพของสิ่งประดิษฐ์ที่จัดทำขึ้น พร้อมสำเนาซีดีข้อมูลเพื่อเป็นเอกสารประกอบให้คณะกรรมการพิจารณาตัดสิน สามารถ Download ใบสมัครทางเว็บไซต์ www.deqp.go.th
                       กรุงเทพมหานคร  ขอรับใบสมัครได้ที่ กองส่งเสริมและเผยแพร่ ส่วนสิ่งแวดล้อมตามแนวพระราชดำริ และกิจกรรมพิเศษ เลขที่ ๔๙ พระราม ๖ ซอย ๓๐ พญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๙๘ ๕๖๐๘ โทรสาร ๐ ๒๒๙๘ ๕๘๖๐ หรือ สามารถ Download ใบสมัครทางเว็บไซต์www.deqp.go.th
                       ส่วนภูมิภาค สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ๗๕ จังหวัด หรือสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น