แบบสำรวจความพึงพอใจ

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

ต้นอัมพวา



ต้นอัมพวา

ชื่ออื่น นางอาย , หล่ำ หล่ำ,มะเปรียง  
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cynometra cauliflora L. 
ชื่อสามัญ  namnam
ลักษณะโดยทั่วไป
 เป็นไม้พุ่มขนาดกลางสูง 3-15 เมตร มีทรงพุ่ม สวยงามค่อนข้างทึบ ใบรูปไข่ ใบย่อยออกเป็นคู่คล้ายปีกผีเสื้อ ใบจะห้อยลง
ช่อดอกจะเกิดตามปมของลำต้น กลีบเลี้ยงมีสีขาวปนชมพู กลีบดอกมีสีขาว มีลักษณะคล้ายไต ผลอ่อนมีสีน้ำตาลแกมเขียวเมื่อเจริญขึ้นมีสีเหลือง ผลดิบมีรสคล้ายมะม่วงดิบ ผลมีรูปร่างแบน คล้ายมะม่วง แต่มีรอยหยักไม่น่าดู ผลดิบมีรสคล้ายมะม่วงดิบ
ผลสุกขนาด ใหญ่ประมาณ ๒๐๐ กรัม มีสีเหลือง และเมล็ดสีน้ำตาล เมื่อออกผลแล้วนาน ๒ - ๓ เดือนจึงสุก ห้อยลงตามลำต้น 1 เมล็ดต่อผล ภายในผลมี 1 เมล็ด เมล็ดแบนคล้ายไตสีน้ำตาล เมล็ดจะฟักตัวอยู่ประมาณ 3 เดือน ระยะแรกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ต่อมาจะช้าลง ข้อสั้น ลำต้น จะแคระ ออกดอกหลังปลูกได้ 6 ปี ในอินโดนีเซียจะเริ่มออกดอกในเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ในบางครั้งอาจจะมีดอกตลอดปี มีรสชาติคล้ายแอปเปิล บางต้นมีรสเปรี้ยว
เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน ที่ลุ่ม และอยู่ในเขตมรสุม ชอบอยู่กลางแดดแต่ก็สามารถเจริญเติบโตในร่มเงาได้ ปริมาณฝนต่อปี 1,500-2,000 มม. อุณหภูมิเฉลี่ย 22-35ํ ซ. ทนทานต่อลมพัด ในช่วง มีผลควรใช้ถุงห่อผล เพื่อป้องกันการทำลายของหนูหรือหนอนเจาะ แต่ปัญหา โรคและศัตรูพืชอื่นๆ ไม่เป็นปัญหามากนัก ผลจะเก็บเกี่ยวได้เมื่อผิวของผล มีสีน้ำตาลอมเหลือง ผลอ่อนของนางอายจะมีรสเปรี้ยวมาก ปริมาณกรดจะ ลดลง เมื่อผลเริ่มแก่ ผลแก่รับประทานสดได้หรือนำไปต้มน้ำตาลทำเป็น สลัดผลไม้ ในบางครั้งจะปลูกในกระถางเป็นไม้ประดับหรือบอนไซ เพราะ ทรงพุ่มและใบสวยงาม ไม้พันธุ์นี้มีปลูกไม่มากนัก มีประโยชน์ทั้งประเภท ไม้ประดับ และรับประทานผลได้ ฉะนั้นน่าที่จะให้ความสนใจและนำมา ปลูกไว้ในสวนหรือปลูกเป็นไม้ประดับในกระถาง
กระจายพันธุ์อยู่ในแถบเอเชีย-ตะวันออกเฉียงใต้ และอินเดีย มีผู้คาดคะเนว่าน่าที่จะมีถิ่นกำเนิดอยู่ทาง ตะวันออกของประเทศมาเลเซีย ในประเทศไทยมีการปลูกตามสวนหลังบ้าน ทางภาคใต้ของประเทศไทย ในภาคกลางก็มีปลูกเป็นไม้ประดับในกระถาง หรือสวนหลังบ้าน ในอินโดนีเซียจะใช้ผลเป็นส่วนผสมของยากลางบ้าน

อนุกรมวิธาน
  Kingdom: Plantae Haeckel, 1866 - plants
      Phylum: Magnoliophyta Cronquist, Takhtajan & W. Zimmermann, 1966 - flowering
           Class: Magnoliopsida Brongniart, 1843 - dicotyledons
                   Order: Fabales Bromhead, 1838
         Family: Fabaceae Lindley, 1836 - bean family
Botanical name: Cynometra cauliflora L.

อ้างอิง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น